Wednesday, January 10, 2007

DC ดีจริงๆ ตอน smithsonian

29 ธันวา

ปุจฉา
รู้ไหม"พิพิธภัณฑ์"แปลว่าอะไร?

วิสัชชนา
พิพิธ เป็น เวิร์บ แปลว่ารวบรวม ส่วน ภัณฑ์ เป็น นาวน์ แปลว่า สิ่งของ สมาสกันได้ความหมายคล้ายกับคำว่า"โกดัง" น่าชมเชยนักปราชญ์ชาติสยามเนอะที่เข้าใจเลือกเอาคำนี้มาถอดความของคำ museum ในภาษาอังกฤษ เพราะ museum บ้านเราทั้งในกรุงเทพฯและ ตจว. กำลังประพฤติตัวคล้ายโรงเก็บของเข้าไปทุกที ฉันถึงเกิดอาการริษยาเมื่อได้ไปเห็น museum จริงๆ(ซึ่งมักสถิตย์อยู่ตามประเทศพัฒนาแล้ว)ถึงกับอยากอาราธนามาประดิษฐานโชว์ให้ประชาชนชาวสยามได้ปลาบปลื้มไปกับฉันด้วย ครั้งนี้ก็มาอีหรอบเดียวกัน

จุดหมายหลักของการมาเที่ยว DC ของฉันคือการเข้าไปเยี่ยมชมหมู่พิพิธภัณฑ์ smithsonian ไม่ผิดหรอกที่เรียกว่าหมู่ เพราะอาณาบริเวณของพิพิธภัณฑ์นั้นกว้างใหญ่และคลอบคลุมหลากหลายเรื่องราว ตั้งแต่วิทยาศาสตร์จ๋าๆ เทคโนโลยี ศิลปะจากทั่วทุกมุมโลก วัฒนธรรม มนุษยวิทยา ไดโนเสาร์ สัตว์ป่า อัญมณี เครื่องบิน สากกระเบือ และ เรือรบ จัดแบ่งเป็นหมวดหมู่อยู่ตามตึกต่างๆ ใครใคร่ดูอะไรก็ขวนขวายเข้าไปดูอะนั้น ที่สำคัญมากๆ คือ ไม่ต้องเสียค่าเข้าชมสักบาท เป็นไงละ ฉันนี้ปลื้มแทนประชาชนเมริกันเลยนะที่มีรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาหาความรู้ขนาดนี้ ดีกว่าบางประเทศที่กระแดะทำตัวไฮโซอยากเป็นผู้นำแฟชั่นโลกทั้งๆที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศยังวิ่งจับกบหลังฝนตกกันอยู่เลย!

นี่คือ list รายชื่อของพิพิธภัณฑ์(บางส่วน)
National Air and Space Museum:จัดแสดงเรื่องราวของการบินตั้งแต่เริ่มแรกสุดคือมนุษย์ติดปีก(นี่คิดเอาเองนะเพราะไม่ได้เข้าไปดูเนื่องจากไม่ค่อยถูกจริตกับเทคโนโลยี) ,บอลลูน, วิวัฒนาการของเครื่องบินตั้งแต่รุ่นพริมิทีฟจนถึงรุ่นล้ำที่ยังไม่มีใครเคยเห็น!(ไม่รู้จะมีโชว์หรือเปล่านะ)

National Museum of Natural History:จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยา

IMG_1044

IMG_1048

ตรงโถงกลางมีรูปสตัฟฟ์ช้างแอฟริกันเป็นตัวดึงดูด

โซนน่าสนใจคือเรื่องกำเนิดโลก ตั้งแต่การระเบิดครั้งใหญ่ วิวัฒนาการของสรรพชีวิตเริ่มจากสัตว์เซลล์เดียว สองเซลล์ หลายเซลล์ สัตว์น้ำ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน ไดโนเสาร์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม บรรพบุรุษมนุษย์ จนกระทั่งกลายเป็นตัวเรา

ที่น่าตื่นตาก็คือโครงกระดูกสัตว์โบราณต่างๆ และไดโนเสาร์ เห็นจะเป็นที่ชอบอกชอบใจของบรรดาหนูหริ่งหนูหรั่งทั้งหลาย เพราะส่งเสียงเจี้ยวจ้าววิ่งเต๊ะท่าถ่ายรูปกันให้วุ่น

IMG_1061

IMG_1060

IMG_1055

IMG_1056

อีกโซนหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือ geology,gems and minerals ไฮไลท์อยู่ที่เพชรบลูไดมอนด์ขนาดเขื่องราคาหลายหลายล้านบาท เสียดายที่ฉันไม่สามารถฝ่าฟันฝูงมนุษย์เข้าไปเพ่งพินิจได้เต็มตาจึงต้องหลบลี้ออกมาก่อนจะโดนเบียดตาย

Freer Gallery of Art
Arthur M.Sackler Gallery
ทั้ง 2 แห่งเป็นที่รวบรวมผลงานศิลปะจากโลกตะวันออกตั้งแต่อียิปต์,ตะวันออกกลาง,ตะวันออกไกล,อนุทวีป(อินเดียและเอเชียใต้) และอุษาคเนย์ เป็นที่ที่ฉันชอบมากที่สุดเพราะช่วงนี้กำลังอินกับศิลปะตะวันออกอย่างมาก ถึงกับอยากเป็นนักโบราณคดีและผู้เชี่ยวชาญภาษาสันสกฤตเลยนะเนี่ยะ


IMG_1079

IMG_1080

IMG_1082

IMG_1083

IMG_1085

IMG_1088

รูปสุดท้ายป็นเศียรพระพุทธรูปนะฮะ ขอให้สังเกตดู หล่อเหมือนรูปปั้นกรีกเลยชิมิ

สมัยพุทธกาลจนกระทั่งเลยพุทธปรินิพพานมาหลายร้อยปียังไม่มีการสร้างพระพุทธรูปขึ้นบนแผ่นดินชมพูทวีปนะ เพิ่งจะมีก็ตอนที่กรีกแผ่ขยายอิทธิพลเข้ามาในลุ่มแม่น้ำสินธุและคงคา เคยได้ยินชื่อพระเจ้ามิลินท์ไหมเป็นกษัตริย์องค์เดียวกันกับที่กล่าวถึงใน"มิลินทปัญหา"ซึ่งเป็นบทโต้ตอบระหว่างพระองค์กับพระนาคเสนเกี่ยวกับปรัชญาทางพระพุทธศาสนา เป็นหนังสือชื่อดังมากและมีคนกล่าวว่าชาวพุทธเถรวาททุกคนควรได้อ่าน(ฉันก็ยังไม่เคยได้อ่านหรอก กะว่ากลับเมืองไทยจะไปหาซื้อมาอ่านบ้างจะได้ไม่ตกเทรนด์)

พระองค์เป็นกษัตริย์เชื้อสายกรีกมีอีกชื่อหนึ่งว่า เมนันดอร์ คาดว่าประเพณีการหล่อพระพุทธรูปน่าจะถือกำเนิดขึ้นในสมัยพระองค์นี่แหละ ดังจะเห็นว่ามีอิทธิพลกรีกเป็นส่วนผสมหลัก กว่าจะเป็นพระพุทธรูปในรูปแบบที่เราเห็นต้องวิวัฒนาการนับเป็นพันๆปีเลยนะ แล้วสมัยก่อนเขาทำรูปเคารพบูชาพระพุทธเจ้าอย่างไร?
คำตอบคือใช้สัญลักษณ์เป็นตัวแทนเหตุการณ์สำคัญต่างๆในพุทธประวัติ เช่น ดอกบัวแทนปางประสูติ,ต้นโพธิแทนปางตรัสรู้,ธรรมจักรและกวางหมอบแทนปางปฐมเทศนา และสถูปแทนปางปรินิพพาน เก๋ไหมฮะ
ถ้าอยากเห็นของจริงที่ยังสวยอยู่แนะนำให้ไปที่สถูปสาญจีที่อินเดีย

National Zoological Park:ที่เล่าไปแล้วเมื่อวาน

และอีกมากมายลองเข้าไปเยี่ยมชมได้ที่
www.si.edu
(โอ้ นี่เป็นครั้งแรกเลยนะที่ฉันทำลิ้งค์เป็น ง่ายชิบหาย)

ฉันใช้เวลาเที่ยวชมอยู่ 2 วันได้แค่ที่เขียนมานั่นแหละ ถ้าใครรักที่จะศึกษาหาความรู้แล้วละก็ แนะนำให้ตีตั๋วมาเที่ยว DC สักหนึ่งสัปดาห์ วนเข้าวนออกอยู่แถวนี้แหละรับรองอิ่มเอมและอิ่มเอิบจนกระอักตายกันไปข้างหนึ่งแน่ๆ

จบข่าว














No comments: